แสงอาทิตย์ เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนหนึ่งที่ปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงในช่วงอินฟราเรด แสงที่ตามองเห็นและอัลตราไวโอเล็ตบนโลก แสงอาทิตย์ถูกกรองผ่านชั้นบรรยากาศโลกและเห็นชัดเป็นแสงกลางวันเมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า
แสงอาทิตย์มีสีขาวเกิดจากแสงทั้ง 7 สีมารวมกัน โดยแสงอาทิตย์จะมีความยาวคลื่นประมาณ 400-700nm แสงที่ความยาวคลื่นต่ำสุดคือสีม่วง สีน้ำเงิน จนมาถึงสีแดงที่มีความยาวคลื่นประมาณ 700nm
ดวงจันทร์อยู่ในระบบสุริยจักรวาล เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีแสงสว่างในตนเอง แต่แสงส่องสว่างที่เราเห็นกัน เป็นเพราะได้รับแสงสะท้อนมาจากดวงอาทิตย์ จึงทำให้มองเห็นดวงจันทร์รูปลักษณ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการหมุนของโลกกับดวงจันทร์ ซึ่งทั้งโลกและดวงจันทร์ต่างหมุนรอบซึ่งกันและกัน ในขณะเดียวกันทั้งโลกและดวงจันทร์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้นหากดวงจันทร์หันด้านที่รับแสงจากดวงอาทิตย์เข้าหาโลก เราก็จะเห็นดวงจันทร์มาก ในทางกลับกันถ้าดวงจันทร์ด้านที่ได้รับแสงดวงอาทิตย์น้อย เราก็จะเห็นดวงจันทร์น้อยลงตามไปด้วย
ในเวลากลางคืนที่มองไม่เห็นดวงจันทร์ แสงสว่างในท้องฟ้ามีน้อย เราจะมองเห็นดวงดาวจำนวนมากมายอย่างชัดเจน แต่ถ้าในคืนที่มองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงท้องฟ้าจะสว่างมาก แสงดวงจันทร์จะบดบังแสงของดวงดาวไว้ ทำให้เรามองเห็นดวงดาวไม่ชัดมากนัก
การค้นพบไฟของมนุษย์นั้นนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ครั้งเเรกที่มนุษย์รู้จักไฟจากการเกิดขึ้นเองธรรมชาติจาก ปรากฏการณ์ฟ้าผ่าลงพื้นหญ้าเเห้ง ทำให้เกิดไฟรุกขึ้นบนหญ้าเเห้งเเล้วมีมนุษย์ไปเจอ หรือการค้นพบไฟจากลาวาภูเขาไฟ โดยคาดการณ์ว่า มนุษย์นำไฟมาใช้ในยุคของ Homo erectus
มนุษย์เริ่มเรียนรู้เเละใช้ไฟเพื่อช่วยให้ความอบอุ่น ช่วยป้องกันมนุษย์จากสัตว์ร้ายที่อันตรายในยามค่ำคืน เเละช่วยในการทำอาหารให้สุก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อวิวัฒนาการทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เเปลี่ยนเเปลงไป
เทียนเป็นสิ่งที่ให้แสงสว่างที่เราสามารถพกพาได้ และยังเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างนึงสำหรับงานพิธีการและงานเฉลิมฉลองต่างๆ ของสังคมมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงในปัจจุบัน
มีการสันนิษฐานไว้ว่า ไส้ของเทียนถูกคิดค้นขึ้นมาโดยชาวอียิปต์จากการเผาไขมันสัตว์ให้ละลาย จากนั้นใช้ต้นกกมาดูดซับไขมันที่ละลายนั้นไว้ แล้วนำไปเป็นไส้ตะเกียง ในขณะที่ชาวโรมันได้นำกระดาษปาปิรุสจุ่มลงในไขมันสัตว์ที่ละลายไว้ ทำให้ได้ไส้ตะเกียงในลักษณะเดียวกัน ไขมันสัตว์จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับเทียน
คบเพลิง หรือ คบไฟ เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างชนิดหนึ่ง แบบดั้งเดิมจะทำจากท่อนไม้ที่ปลายด้านหนึ่งพันด้วยผ้าชุบน้ำมันดินหรือสารติดไฟอื่นๆ เมื่อนำมาให้แสงสว่างในอาคาร เช่น ปราสาท หรือสุสาน จะติดตั้งไว้บนเชิงแขวนผนัง
ปัจจุบันคบเพลิงไม่ได้ใช้ในการให้แสงสว่างเพียงอย่างเดียว แต่จะใช้เป็นสัญลักษณ์ในงานพิธี (เช่น งานกีฬา) หรือเป็นส่วนหนึ่งของการละเล่นต่างๆ ด้วย
ตะเกียงน้ำมันเป็นวัตถุที่ใช้ในการผลิตไฟโดยใช้น้ำมันเป็นแหล่งเชื้อเพลิง การใช้ตะเกียงน้ำมันเริ่มขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อนและยังคงดำเนินต่อไปจนถึงทุกวันนี้
แหล่งที่มาของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับตะเกียงน้ำมันรวมความหลากหลายของพืชเช่น วอลนัท อัลมอนด์เมล็ดงา มะกอก ละหุ่งหรือแฟลกซ์ นอกจากนี้ยังมีไขมันสัตว์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่น เนย เนยใส น้ำมันปลา ตับปลาฉลาม อึ๋มของปลาวาฬ หรือแมวน้ำ
เซอร์ ไอแซค นิวตันได้แสดงให้เห็นว่า สีคือส่วนหนึ่งในธรรมชาติของแสงอาทิตย์ โดยให้ลำแสงส่องผ่านแท่งแก้วปริซึม แสงจะหักเห เพราะแท่งแก้วปริซึมความหนาแน่นมากกว่าอากาศ เมื่อลำแสงหักเหผ่านปริซึมจะปรากฏแถบสีสเปคตรัม (Spectrum) หรือที่เรียกว่า สีรุ้ง (Rainbow) คือ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เมื่อแสงตกกระทบโมเลกุลของสสาร พลังงานบางส่วนจะดูดกลืนสีจากแสงบางส่วนและสะท้อนสีบางสีให้ปรากฏเห็นได้ พื้นผิววัตถุที่เราเห็นเป็นสีแดง เพราะวัตถุดูดกลืนแสงสีอื่นไว้ สะท้อนเฉพาะแสงสีแดงออกมา วัตถุสีขาวจะสะท้อนแสงสีทุกสี และวัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสี
ก๊าซติดไฟคือการผลิตของแสงเทียมจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซเช่นไฮโดรเจน มีเทน คาร์บอนมอนอกไซด์ โพรเพน บิวเทน อะเซทิลีน เอทิลีน ก๊าซถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติ
แสงเกิดจากเปลวไฟโดยตรงโดยทั่วไปโดยใช้ก๊าซที่ส่องสว่างผสมพิเศษเพื่อเพิ่มความสว่างหรือทางอ้อมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นเสื้อคลุมก๊าซหรือไฟแก็ซโดยที่ก๊าซส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเชื้อเพลิง
ก่อนที่จะผลิตไฟฟ้าได้กลายเป็นที่แพร่หลาย ก๊าซเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดของแสงในร่มและกลางแจ้งในเมืองและชานเมือง ไฟแก๊สในยุคแรกถูกจุดด้วยตนเอง แต่การออกแบบในภายหลังหลายแบบสามารถติดไฟได้เอง
หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา หรือ หลอดความร้อน หรือ หลอดไส้ให้แสงสว่างโดยการให้ความร้อนแก่ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะกระทั่งมีอุณหภูมิสูงและเปล่งแสง หลอดแก้วที่เติมแก๊สเฉื่อยหรือเป็นสุญญากาศป้องไม่ให้ไส้หลอดที่ร้อนสัมผัสอากาศในหลอดฮาโลเจน กระบวนการทางเคมีคืนให้โลหะเป็นไส้หลอด ซึ่งขยายอายุการใช้งาน หลอดไฟฟ้านี้ได้รับกระแสไฟฟ้าจากเทอร์มินอลต่อสายไฟ (feed-through terminal) หรือลวดที่ฝังในแก้ว หลอดไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในเต้ารับซึ่งสนับสนุนหลอดไฟฟ้าทางกลไกและเชื่อมกระแสไฟฟ้าเข้ากับเทอร์มินัลไฟฟ้าของหลอด
LED มีชื่อเต็มว่า “Light-emiting diode” เป็นส่วนประกอบไฟฟ้าที่ปล่อยแสงเมื่อเชื่อมต่อกับกระแสตรง ทำงานบนหลักการ Electroluminescent สามารถเปล่งแสงในสเปคเตอร์ที่มองเห็นได้เช่นเดียวกับในอินฟาเรดและรังสีอัลตราไวโอเลต มีลักษณะการใช้พลังงานต่ำ มีขนาดเล็ก อายุการใช้งานที่ยาวนาน มีการตอบสนองเร็วกว่าหลอดไฟทั่วไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ถูกนำมาใช้ประยุกต์ใช้งานอย่างหลากหลาย
หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดเรืองแสง, หลอดวาวแสง ( fluorescent tube) หรือที่เรียกกันติดปากว่าหลอดนีออน เป็นหลอดไฟฟ้าระบบปล่อยประจุ ที่บรรจุไอปรอทความดันต่ำไว้
เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอด จะกระตุ้นให้อนุภาคปรอทปล่อยรังสีเหนือม่วงออกมา เมื่อรังสีนี้กระทบกับสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ด้านในตัวหลอด สารเรืองแสงจะเปล่งแสงสว่างที่มองเห็นได้ออกมา และเนื่องจากไม่ได้เปล่งแสงโดยอาศัยความร้อน จึงมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากกว่าหลอดไฟไส้
ฟลัดไลท์ (FloodLightled) เป็นคำที่นิยมเรียกกันในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยจะนิยมเรียกกันว่า สปอตไลท์ โดยทั่วไปสปอตไลท์มีหน้าที่ให้แสงสว่างในพื้นที่กว้างสามารถปรับหมุนองศาเพื่อให้แสงไฟส่องไปในทิศทางที่ผู้ใช้งานต้องการเน้นจุดที่ต้องการส่อง สามารถใช้งานได้ทั้งภายนอกอาคารเช่น ไฟสปอตไลท์ส่องป้ายโฆษณา ไฟสปอตไลท์สนามฟุตบอล และภายในอาคาร
สปอตไลท์ประเภทหลอดฮาโลเจน มีลักษณะเหมือนกับหลอดไส้ ที่ไส้หลอดทาด้วยทังสเตน แต่บรรจุสารตระกูลฮาโลเจน ซึ่งจะแผ่ความร้อนออกมากจากใยลวดเส้นบางๆ ที่ผลิตจากแก้วหิน รอบล้อมไปด้วยแก๊สฮาโลเจนที่มีส่วนช่วยรักษาใยลวดเพื่อป้องกันการระเหิดตัวของไส้หลอด มีประสิทธิภาพดีกว่าหลอดไส้ปกติ 2-3 เท่า หรือประมาณ 1500 – 3000 ชั่วโมง
เลเซอร์ ย่อมาจากคำว่า light amplification by stimulated emission of radiation คือ อุปกรณ์ที่ให้กำเนิดลำแสง ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งพลังงานแสงเลเซอร์ สามารถมีคุณสมบัติได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการออกแบบ เลเซอร์ส่วนมากจะเป็นลำแสงที่มีขนาดเล็ก มีการเบี่ยงเบนน้อยและสามารถระบุความยาวคลื่นได้ง่าย โดยดูจากสีของเลเซอร์ ถ้าอยู่ในสเปกตรัมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งเลเซอร์นี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นการรวมพลังงานแสงที่ส่งออกมาจากหลายความยาวคลื่นเข้าด้วยกัน
การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเลเซอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1960 โดย ทีโอดอร์ ไมแมน ทุกวันนี้เลเซอร์กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลายพันล้านดอลลาร์ ผลผลิตจากงานวิจัยเลเซอร์ และกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ หรือแม้กระทั่งด้านการทหาร